ซ่อมแซมโครงสร้าง เสาระเบิด

เนื่องจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กถึงแม้ว่าจะมีความคงทนแข็งแรงทนต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการใช้งานมีโอกาสที่จะเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานได้เช่นเดียวกับ
วัสดุอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องมีการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ใช้งานได้อย่างเต็มสมรรถนะ และเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ก่อนการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมโครงสร้างควรที่จะทำการตรวจสอบและประเมินความเสียหายของโครงสร้างให้แน่ชัดจะได้แก้ไขที่ตรงจุดการวิบัติของโครงสร้างเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและเพื่อการซ่อมแซมโครงสร้างให้ได้สมรรถนะการใช้งานของโครงสร้างที่เท่าเดิมก่อนเกิดการวิบัติหรือเพิ่มสมรรถนะงานใช้งานของโครงสร้างให้ได้ตามกำหนด


การชำรุดสึกหรอ หรือการวิบัติ ของโครงสร้างอาจจะแบ่งตามสาเหตุของการวิบัติได้ 3 กรณีได้แก่
1. การวิบัติเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้งานตัวอย่างเช่น อาคารเดิมสร้างมาเพื่อเป็นทาวน์เฮาส์พักอาศัยเมื่อเปิดใช้งานแล้วมีการเปลี่ยนการใช้งานเป็นอาคารพาณิชย์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการใช้งานดังกล่าวเป็นการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกให้กับโครงสร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้โครงงานเกิดการชำรุดสึกหรอ หรือวิบัติได้ ดังนั้นควรการแก้ไขซ่อมแซมโครงสร้างให้มีกำลังรับน้ำหนักบรรทุกไม่น้อยกว่าโครงสร้างเดิมก่อนการวิบัติ


2. การวิบัติเนื่องจากเพลิงไหม้ โครงสร้างที่ถูกเพลิงไหม้เวลานานๆมักจะเสียกำลังในการรับน้ำหนักไป ถึงแม้ว่าคอนกรีตจะมีสภาพเป็นฉนวนและทนต่อความร้อนได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อคอนกรีตได้รับความร้อนมากๆ อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้คอนกรีตไม่เกาะตัวกัน กะเทาะ ล่อน และแตกออก ทำให้เหล็กเสริมภายในรับความร้อนโดยตรง เมื่อเหล็กเสริมได้รับความร้อนที่สูงถึง 425 องศาเซลเซียส กำลังของเหล็กเสริมจะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้โครงสร้างเกิดการวิบัติ ดังนั้นการซ่อมแซมโครงสร้างที่ชำรุดสึกหรอเนื่องจากเพลิงไหม้ให้จึงเป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างให้ใช้งานได้เหมือนเดิม ปลอดภัยต่อการใช้งาน หรือเสริมความแข็งแรงให้มากการเดิมก็ได้

รูปอาคารเกิดเพลิงไหม้ จนได้รับความเสียหาย

 

3. ความเสียหายของโครงสร้างที่พบเจอบ่อยที่สุด คืออาการที่เรียกว่า เสาระเบิดหรือคานระเบิด คานร้าว เนื่องจากคอนกรีตมีรอยแตกร้าวหรือมีระยะ Concrete Covering (ระยะหุ้มผิวคอนกรีต) น้อยเกินไป จนทำให้น้ำหรือความชื้นซึมผ่านเนื้อคอนกรีตไปถึงเหล็กเสริมจนเกิดสนิม โดยสนิมจะดันเนื้อคอนกรีตให้แตกกะเทาะหรือหลุดล่อนออกมา การซ่อมแซมขึ้นอยู่กับลักษณะของสนิมเหล็กเสริมว่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใดและคุณภาพคอนกรีตมีคุณภาพเป็นอย่างไร  

 

การวิบัติเนื่องจากเกิดสนิมในเหล็กเสริมในส่วนของโครงสร้างสนิม เกิดจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนและธาตุเหล็ก เกิดเป็นรอยของการเกิดการผุกร่อนเป็น Corrosion ประเภทหนึ่งซึ่งมักเกิดกับโลหะจำพวกเหล็ก ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่พบเห็นได้ง่ายๆ กับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ แต่เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ อาจจะกินเวลายาวนาน เกิดขึ้นเมื่อมีเหล็กสัมผัสกับน้ำและความชื้น โดยจะค่อยๆ สึกกร่อนกลายเป็นเหล็กออกไซด์หรือที่เรารู้จักกันว่าสนิมเหล็ก (Fe2O3.H2O) สังเกตได้จากสีและลักษณะอื่นๆ ที่แตกต่างจากเหล็ก (Fe) ดังปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นปัญหาที่เกิดจากการเป็นสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคือ ขนาดหน้าตัดเหล็กเสริมที่แท้จริงบริเวณที่เหล็กเกิดสนิมจะมีขนาดเล็กลงเนื่องจากเหล็กบางส่วนกลายเป็นสารละลายอิสระ (Fe2+) และอิเลคตรอนเมื่อหน้าตัดของเหล็กน้อยลง จึงทำให้ความสามารถรับแรงได้ลดลง และยังส่งผลให้คอนกรีตเสริมเหล็กเกิดการแตกร้าวตามแนวเหล็กเสริมเนื่องจากการเกิดสนิมจะทำให้เกิดแรงดันต่อคอนกรีตบริเวณรอบๆ เหล็กเสริมเนื่องจากสนิมเหล็กจะมีปริมาตรมากกว่าเหล็กเดิม ฉะนั้นย่อมทำให้กำลังรับแรงของโครงสร้างลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง FATIGUE STRENGTH และความสามารถในการแอ่นตัวและความยืดหยุ่น (STIFFNESS) ของโครงสร้างก็ลดลงด้วย

รูปคานระเบิดเหล็กเสริมผุ เป็นสนิมขุม

การซ่อมเสาคอนกรีต คานคอนกรีต (Repair of Concrete)
เสาและคานคอนกรีตที่แตกร้าว เนื่องจากเหล็กเสริมเป็นสนิมและมีการดันคอนกรีตให้แตกร้าวออกมา ทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาและคานคอนกรีตลดลง ดังนั้นการซ่อมนี้ก็เพื่อเพิ่มกำลังเพื่อเสริมหรือคืนกำลังการรับน้ำหนักให้แก่เสาและคานที่เสียหาย


1.วิธีการซ่อมแซมเสา การซ่อมแซมเสามีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของความเสียหาย เช่น
     1 ขยายหน้าตัดเสาและคานให้ใหญ่ขึ้น
     2 เพิ่มระยะหุ้ม Covering ให้กับคอนกรีตเสาและคาน
     3 เพิ่มปลอกรับแรงเฉือน เพื่อเพิ่มกำลังรับแรงเฉือน
     4 ใช้ระบบป้องกันต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการกัดกร่อนเพิ่มเติมในอนาคต

 

2. ขั้นตอนการซ่อมเสาและคานคอนกรีต

2.1 สกัดคอนกรีตที่แตกร้าว เสียหาย เสื่อมสภาพออกให้หมด

2.2 ถ้าต้องสกัดคอนกรีตเสา หรือคานเยอะ ทำให้หน้าตัดคอนกรีตสูญเสียมาก ต้องทำการตั้งค้ำยันชั่วคราวขณะซ่อมแซม

2.3 ขัดเหล็กที่เป็นสนิมออกให้หมด ถ้าเหล็กเป็นสนิมมากเกิน 15 % ของหน้าตัดเหล็กเส้น จะต้องทำการเชื่อมทาบเหล็กเสริมใหม่ทดแทน โดยขนาดเหล็กเสริมไม่เล็กไปกว่าเหล็กเสริมของเดิม  ถ้าใช้เหล็กเสริมเดิมจะทำการทาน้ำยาหยุดยั้งการเกิดสนิมในเหล็กเสริม

2.4 ทำการปิดแบบหรือเข้าแบบก่อสร้าง ก่อนทำการปิดแบบจะทำการทาน้ำยาประสานคอนกรีต

2.5 ซ่อมงานด้วยปูนซ่อมโครงสร้าง Repaired Mortar สัดส่วนตามอัตราส่วนของทางบริษัท ประกอบด้วยปูนเกร้าท์+ปูนโครงสร้าง+หินเกล็ด ด้วยวิธีปิดแบบเทคอนกรีต หรือ ฉาบปิดด้วยปูนซ่อมโครงสร้าง Repaired Mortar ก็ได้

2.6 รอเวลาแกะแบบตามกำหนด และทำการฉาบปูนให้เรียบร้อย

 Download >> ขั้นตอนการซ่อมแซม

คลิปวีดีโอตัวอย่างวิธีการซ่อมแซม

 
     
 
     
 
     
 

 

ขอใบเสนอราคา