การทดสอบกำลังอัดคอนกรีต (Rebound Hammer Test)

 

การตรวจสอบกำลังรับแรงอัดประลัยคอนกรีตโดยวิธีการไม่ทำลาย (NON-DESTRUCTIVE TEST) การทดสอบคอนกรีตนี้เป็นการทดสอบคอนกรีตแบบไม่ทำลาย  ซึ่งเรียกการทดสอบนี้ได้หลายชื่อด้วยกัน เช่น ทดสอบคอนกรีตแบบค้อนกระแทก, ทดสอบรีบาวน์แฮมเมอร์สเทส (Rebound Hammer Test) หรือเรียกว่าการทดสอบแบบชมิดท์แฮมเมอร์สเทส (SCHMIDT HAMMER)

การทดสอบ เพื่อประเมินค่ากำลังอัดของคอนกรีตในโครงสร้างแบบไม่ทำลาย Non-Destructive Test) ตามมาตรฐาน ASTM C805 โดยประเมินค่ากำลังอัดประลัย หรือค่า Fc' ของคอนกรีต โดยอาศัยหลักการวัดค่าดัชนีสะท้อนกลับ (Rebound Number) ที่เกิดจากการกดแกนทดสอบ (Plunger) และกระบอกทดสอบ(Housing)ให้ตั้งฉากกับผิวคอนกรีต แรงกระแทกจากสปริงภายในจะทำให้แกนทดสอบเกิดการสะท้อนกลับมีค่า ดัชนีตั้งแต่ 10 ถึง 100 ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดซับพลังงานของผิวคอนกรีต ผิวคอนกรีตที่มีความแข็งมากกว่า จะมีค่าดัชนีสะท้อนกลับสูงกว่า

การทดสอบหากำลังรับแรงอัดประลัยคอนกรีตโดยวิธีไม่ทำลาย(NON-DESTRUCTIVE TEST) ส่วนใหญ่เป็นการทดสอบ โดยอาศัยการตีความจากผลการวัดค่าต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติต่างๆ ของโครงสร้างหรือองค์ประกอบของโครงสร้าง หรือมีความเกี่ยวข้องกับกลไกของการเสื่อมสภาพแบบต่างๆ ซึ่งการทดสอบแบบไม่ทำลายนั้น อาศัยการตีความทางอ้อมเป็นส่วนใหญ่ หลักสำคัญของการทดสอบแบบไม่ทำลายคือ การเก็บข้อมูลที่เพียงพอต่อการประเมินสภาพของโครงสร้างโดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างในระดับที่มากเกินไป  

อย่างไรก็ตามการทดสอบโดยวีธีการไม่ทำลาย เป็นวิธีการทดสอบประเมินผลทางอ้อม ดังนั้นความแม่นยำในการวัดค่าคุณสมบัติต่างๆ ของคอนกรีตจึงน้อยกว่าการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

 

การวัดค่าการสะท้อนด้วย SCHMIDT HAMMER ค้อนกระแทกแบบชมิดท์(SCHMIDT HAMMER) เป็นเครื่องมือทดสอบคอนกรีตแบบไม่ทำลายที่เป็นที่นิยมในการวัดกำลังอัดของคอนกรีตอันเนื่องมาจาก ความรวดเร็วในการทดสอบ และราคาที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการเจาะเก็บตัวอย่างทดสอบเพื่อทำการทดสอบ โดยหลักการแล้ว ค้อนกระแทก (REBOUND HAMMER) เป็นเครื่องมือวัดความแข็งของผิวคอนกรีต ค่ากำลังอัดที่ได้นั้นเป็นการแปลงมาจากค่าความแข็งของผิวคอนกรีต

 

 

รูปเครื่องมือ SCHMIDT’S HAMMER สำหรับทดสอบ REBOUND HAMMER TEST

สำหรับมาตรฐานในการทดสอบหากำลังรับแรงอัดประลัยคอนกรีตโดยวิธีการไม่ทำลาย (NDT) จะอ้างอิงมาตรฐานของ ASTM C-805 เครื่องมือที่ใช้คือ Rebound Hammer ซึ่งใช้หลักการกระแทก และกระดอนกลับ (Rebound) ของสปริงหรือมวลยืดหยุ่น กำลังที่กระดอนกลับ (Rebound) จะแปรผันกับค่าความแข็งแรงของผิวที่ทดสอบ

  1. ตรวจสอบสภาพผิวตัวอย่างทดสอบ ขัดผิวที่ต้องการทดสอบให้เรียบ ถ้าผิวโค้งนูน หริอ ผิวเว้าจะมีผลต่อการRebound ของ Rebound Hammerเนื่องจากผิวที่โค้งนูนจะทำให้ค่าที่อ่านได้ต่ำกว่าค่าความเป็นจริง ส่วนผิวที่เว้าจะทำให้ค่าที่อ่านได้สูงกว่าค่าความเป็นจริง
  2. จัดแบ่งพื้นที่ตัวอย่างทดสอบให้มีตำแหน่งการทดสอบ 10 ตำแหน่ง และแต่ละตำแหน่งห่างกันอย่างน้อย 2.5 cm
  3. ทำการกด Rebound Hammer ในทิศทางที่ตั้งฉากกับผิวตัวอย่าง พร้อมบันทึกค่า Rebound Number และทิศทางการกด ซึ่งมีด้วยกัน 3ทิศทาง ได้แก่ กดในแนวนอน, แนวตั้งแบบยิงขึ้น หรือแนวตั้งแบบยิงลง เนื่องจากแต่ละทิศทางจะใช้กราฟในการปรับค่า Rebound Number เป็นค่า Strength of Concrete ที่แตกต่างกัน
  4. นำค่า Rebound Number ทั้งหมด มาหาค่าเฉลี่ย แล้วดูว่าค่าRebound Number ที่ตำแหน่งใดมีค่าสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเกิน 6 หน่วย ให้ทำการทดสอบตำแหน่งนั้นใหม่ ถ้าทดสอบแล้วยังไม่ได้ ให้ตัดค่าที่ตำแหน่งนั้นทิ้ง แล้วหาค่าเฉลี่ยใหม่ นำค่าเฉลี่ยที่ได้มาหาค่า Strength of Concrete จากกราฟที่ใช้ในการปรับค่า

Download >> มาตราฐานการทดสอบ

คลิปวีดีโอตัวอย่างวิธีการทดสอบ

 
     
     
     
     
     

ขอใบเสนอราคา